วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555


กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทย 

       เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับกฎหมายตัวใหม่ที่กำลังจะออกมาใช้บังคับกันในอนาคต ทั้งนี้  สืบเนื่องมาจากในปัจจุบันจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เนตทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย มีอัตราการขยายตัวที่ มากขึ้น และเป็นการเติบโตที่รวดเร็วแบบก้าวกระโดด ซึ่งจะเห็นได้จากจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เนตนับล้านคนในประเทศไทย อีกทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล(PC: Personal Computer ) ก็ดูเหมือนจะกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้คนไปซะแล้ว สังเกตุได้จากตามออฟฟิศ สำนักงานต่างๆหรือ แม้แต่ตามบ้านพักอาศัย ล้วนแต่มีคอมพิวเตอร์ไว้ใช้งานด้วยเสมอ ซึ่งดูๆไปแล้วก็ไม่ต่างไปจากเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป เมื่อเกิดมีสังคมทางอินเทอร์เนตดังกล่าวขึ้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการบางอย่างเพื่อจะใช้บังคับให้คนในสังคม Cyber อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข เช่นเดียวกับสังคมในชีวิตจริงของเรา โลกจำลองของสังคม Cyber นั้นนับวันยิ่งใกล้เคียงโลกของจริงเข้าไปทุกที ด้วยเหตุนี้จึงเกิดมีกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศขึ้นสืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2539 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบต่อนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ตามหนังสือที่ นร 0212/2718 โดยมีเป้าหมายหลักคือ การปฏิรูปกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งได้กำหนดหลักการสำคัญไว้ว่า “รัฐจะต้อง….พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ” 
       ปัจจุบันประเทศต่างๆทั่วโลกต่างก็มีการตื่นตัวต่อการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น ในปี คศ. 1997 ประเทศญี่ปุ่นได้ประกาศนโยบาย “ Toward the Age of  Digital Economy “ สหรัฐอเมริกาประกาศนโยบาย “ A Framework for Global Electric Commerce “ และสหภาพยุโรปประกาศนโยบาย “ A European Initiative in Electronic Commerce” เป็นต้น     นอกจากนั้นองค์การระหว่างประเทศ เช่น องค์การการค้าโลก ( WTO ) และสหประชาชาติ ( United Nation ) ก็ให้ความสนใจจัดให้มีการประชุมเจรจาจัดทำนโยบายและรูปแบบของกฎหมายเกี่ยวกับการพานิชย์อิเล็คทรอนิกส์ไว้ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยจะต้องมีการจัดทำกฎหมายดังกล่าว เพื่อให้เป็นโครงสร้างพื้นฐานต่อไป 
       กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศจึงเกิดขึ้นเนื่องจากความจำเป็นของสังคม (Social Necessity) และเพื่อให้สังคมมีความเป็นปึกแผ่น (Solidality) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็คทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ตระหนักในปัญหาของประเทศชาติและความสำคัญของกฎหมายดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ในฐานะที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมาย (Legal Infrastructure) โดยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 
1. กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law) : เพื่อคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัวจากการนำข้อมูลของบุคคลไปใช้ในทางมิชอบ 
2. 
กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ Computer Relate Crime) : เพื่อคุ้มครองสังคมจากความผิดที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารอันถือเป็นทรัพย์ที่ไม่มีรูปร่าง (Intangible Object) 
3. 
กฎหมายพาณิชย์อิเล็คทรอนิกส์ (Electronic Commerce) : เพื่อคุ้มครองการทำธุรกรรมทางอินเทอร์เนต 
4. 
กฎหมายการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็คทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange : EDI ) : เพื่อที่จะเอื้อให้มีการทำนิติกรรมสัญญาทางอิเล็คทรอนิกส์ได้ 
5. 
กฎหมายลายมือชื่ออิเล็คทรอนิกส์ (Electronic Signature Law) : เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่คู่กรณีในอันที่จะต้องพึ่งพาเทคโนโลยีเพื่อการลงลายมือชื่อ
6. 
กฎหมายการโอนเงินทางอิเล็คทรอนิกส์ (Electronic Funds Tranfer) : เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและสร้างหลักประกันที่มั่นคง 
7. 
กฎหมายโทรคมนาคม (Telecommunication Law) : เพื่อวางกลไกในการเปิดเสรีให้มีการแข่งขันที่เป็นธรรมและมีประมิทธิภาพ ทั้งสร้างหลักประกันให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการโทรคมนาคมได้อย่างทั่วถึง (Universal Service) 
8. 
กฎหมายระหว่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศและการค้าระหว่างประเทศที่เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ 
9. 
กฎหมายที่เกี่ยวเนื่องกับอินเทอร์เนต 
10. 
กฎหมายพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ 
          ปัจจุบันได้มีกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศออกมาประกาศใช้แล้ว ฉบับคือ พระราชบัญญัติธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2545 ซึ่งได้รวมเอากฎหมายพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์และกฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เข้าไว้ด้วยกัน โดยกฎหมายดังกล่าวและมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่เมษายน 2545 ที่ผ่านมา  ทั้งนี้ กฎหมายดังกล่าวจะเอื้อประโยชน์อย่างมากทั้งต่อตัวผู้กระทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม เพราะกฎหมายดังกล่าวได้ระบุเรื่องการรับฟังพยานหลักฐานที่อยู่ในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์เข้าไว้ด้วย (เดิมปรับใช้จากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง) 
     ประเด็นสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นของผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศก็คือ การพัฒนากฎหมายเพื่อรองรับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ซึ่งรัฐมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาถึงเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้เข้าใจในเบื้องต้น และศึกษาถึงธรรมเนียมประเพณีและสังคมการพาณิชย์ของไทย รวมทั้งปัญหาต่างๆที่มีอยู่ในปัจจุบันที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศไทย 
     สภาพปัญหาในปัจจุบันคือ กฎหมายไทยไม่เพียงพอที่จะให้ความคุ้มครองทางอิเล็คทรอนิกส์ ทำให้นักธุรกิจและนักลงทุนไม่มั่นใจในการทำการค้าทางอิเล็คทรอนิกส์ เพราะเหตุความไม่มีประสิทธิภาพของระบบและโครงสร้าง ความไม่มั่นใจจากการถูกรบกวนและแทรกแซงจากบุคคลภายนอกผู้ไม่หวังดี รวมถึงความหวาดกลัวต่อการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งมีมากในประเทศของเรา 
     ประกอบกับผู้ใช้งานยังมีความกังขาในข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสมบูรณ์ของนิติกรรมที่เกิดจากการพานิชย์อิเล็คทรอนิกส์ว่าจะมีผลผูกพันเพียงใด ทั้งจะมีการยอมรับการสืบพยานในศาลได้มากน้อยเพียงใด ดังนั้น กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อระบบการทำธุรกรรมในประเทศไทยทั้งในปัจจุบันและในอนาคต 
รู้จักกับกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศของสหรัฐอเมริกา 
กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศหรือกฎหมาย IT ของอเมริกานั้น ไม่ได้เป็นกฎหมายรวมฉบับเดียวแล้วเรียกว่ากฎหมาย IT หรือ Cyber Law  หรอกครับ ของเขาก็กระจายอยู่ในกฎหมายหลายฉบับเหมือนกัน มีทั้งกฎหมายที่ใช้อยู่แล้วกับที่ยกร่างขึ้นใหม่ ผมลองนับดูเล่น ๆ ดูแล้วเฉพาะกฎหมายของรัฐบาลกลาง (Federal) ก็มีมากกว่า 20 ฉบับครับ ยังไม่นับกฎหมายของแต่ละรัฐอีก 50 รัฐ ครับ กฎหมายเขามากมายเหลือเกินผมคงไม่อธิบายหรอกครับว่ามีกฎหมายอะไร ชื่ออะไรกันบ้างเพราะมันน่าเบื่อครับ เอาเป็นว่าพูดกันถึงหลัก ๆ แล้วกันนะครับว่ามีกฎหมายอะไรบ้าง  กฎหมาย IT ตัวแรกของเขาก็คือ กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาครับ ซึ่งก็เหมือนกับบ้านเราที่เป็นกฎหมายซึ่งใช้บังคับกับเรื่องทั่วไปด้วย ไม่ใช่เรื่อง IT อย่างเดียว ช่วงแรก ๆ ที่เทคโนโลยีเพิ่งพัฒนาก็มีการตีความกฎหมายกันวุ่นวายครับจนถึงตอนนี้ก็อาจถือได้ว่าลงตัวในระดับหนึ่งแล้วสำหรับเรื่องนี้   กฎหมายตัวต่อไปก็คือ กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ครับ ก็มีกฎหมายหลายตัวทั้งในเรื่องการทำสัญญากันออนไลน์ (Online contracting) เรื่องภาษีของการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการซื้อขายหลักทรัพย์กัน Online ครับ เรื่องแรกน่ะก็อย่างที่รู้กันนะครับว่าของไทยมีกฎหมายมาแล้ว แต่อีก เรื่องยังไม่มีกฎหมายเฉพาะครับ โดยเฉพาะในเรื่องภาษีตอนนี้ก็เริ่มมีการตีความประมวลรัษฎากร กฎหมายเรื่องที่สามคือ กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลครับ” ประกอบไปด้วยกฎหมายหลายฉบับครอบคลุมหลายเรื่องด้วยกัน เฉพาะกฎหมายของรัฐบาลกลางอย่างเดียวในเรื่องนี้ก็มีร่วม 10 ฉบับแล้วครับ เรื่อง privacy หรือความเป็นส่วนตัวนี้เป็นเรื่องใหญ่
กฎหมายเรื่องที่สี่ คือ  กฎหมายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ เขาก็มีทั้งกฎหมายเฉพาะและปรับใช้กฎหมายอาญาทั่วไปครับ กฎหมายเฉพาะก็จะเป็นกฎหมายเกี่ยวกับพวกเว็บไซต์ลามกครับ รวมถึงการลักลอบดักข้อมูล การแทรกแซงระบบคอมพิวเตอร์ และการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์ด้วยกฎหมาย IT ตัวสุดท้ายที่อยากจะพูดถึงก็คือกฎหมายเรื่อง  “การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ครับ คือในขณะนี้ถือว่ามีความจำเป็นมากในธุรกิจ e-commerce
"กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล" ยังอีกไกลแต่ต้องไปให้ถึง
ปัจจุบันแนวโน้มของการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์หรืออี-คอมเมิร์ซ ของคนไทยยังไม่แพร่หลาย
หรือเป็นที่นิยมเท่าที่ควร เมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศพบว่าปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญ ประการหนึ่งที่ทำให้การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ยังไม่กระจายไปสู่ประชาชน คือ ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในการนำวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้        สาเหตุของการขาดความเชื่อมั่นนี้อาจเกิดขึ้นได้ทั้งจากความไม่มั่นใจ ในความปลอดภัยของระบบและความกังวลในเรื่องของ การรักษาความเป็นส่วนตัวและ ความปลอดภัยของ ข้อมูลส่วนบุคคล"กฎหมาย" จึงกลายเป็นคำตอบสุดท้ายของ การสร้างความมั่นใจ ในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เพราะกฎหมายเป็นโครงสร้างพื้นฐานทาง สังคมของประเทศ ดังนั้นจึงเป็นที่มาของร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ… แต่ว่ากว่าที่ร่างพ.ร.บ. ฉบับนี้จะได้ฤกษ์คลอดออกมาคงต้องลุ้นกันอีกนาน เพราะขณะนี้คณะอนุกรรมการและคณะทำงานยกร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลพ.ศกำลังช่วยกันหาข้อสรุปในการนำร่างพ.ร.บ.ฯ ที่ถูกร่างขึ้น ฉบับโดยสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการหรือโอไอซี และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือไอซีที มาสรุปรวมกันเป็นฉบับเดียว  ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค ในฐานะเจ้าภาพจัดงาน บอกว่า การจัดสัมมนาครั้งนี้เน้นหนักไปที่การหาข้อสรุปร่วมกัน ในส่วนของหลักการและความคิดเห็นบางส่วนที่ร่างพ.ร.บ.ทั้ง ฉบับยังไม่ตรงกันนอกจากนั้นเพื่อให้การพิจารณาร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวในชั้นการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและกระบวนการนิติบัญญัติเป็นไปอย่างรอบคอบรวดเร็วและมีเนื้อหาที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น รวมถึงประเด็นปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการบังคับใช้กฎหมายในอนาคต ทั้งนี้เพื่อให้เป็นหลักประกันในการให้ความคุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างแท้จริง
ผอ.เนคเทค อธิบายว่า ร่างพ.ร.บ.ของทั้ง หน่วยงานมีข้อคำนึงที่ใช้ประกอบในการพิจารณา 
ยกร่างกฎหมายฯ 6ประการ คือ
1. การคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน
2. ความพร้อมและความตื่นตัวของประชาชน
3.การส่งเสริมการประกอบธุรกิจภาคเอกชน
4.การสร้างความสมดุลระหว่างการให้ความคุ้มครองและส่งเสริมการประกอบการ
5.กลไกและความเข้มแข็งในการให้ความคุ้มครองของภาครัฐและ
6.ประสบการณ์ที่เรียนรู้จากประเทศเพื่อบ้านหรือประเทศอื่นๆ โดย

เจตนารมณ์ของกฎหมายมี ข้อ คือ
1.เพื่อคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัว อันเป็นสิทธิที่รัฐธรรมนูญได้รับรองไว้
2.เพื่อกำหนดหลักการพื้นฐานในการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ให้เป็นไป โดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม
3.กำหนดสิทธิของเจ้าของข้อมูลในการเข้าถึง ข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน
4.วางกลไกลการกำกับดูแลที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจของ ภาคเอกชน  คุ้มครองประชาชนและในขณะเดียวกันไม่ก่อให้เกิดภาระกับรัฐมากเกินไปและ
5.จัดตั้งองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ ทำหน้าที่กำกับดูแลและตรวจสอบให้มี การปฏิบัติตามกฎหมาย  นายชั่งทอง โอภาสศิริวิทย์ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ หรือโอไอซี อธิบายว่า ขอบเขตการบังคับใช้กฎหมาย จะต้องคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลธรรมดา ใช้บังคับกับการเก็บรวบรวมการประมวลผล การใช้หรือการดำเนินการอื่นใดกับข้อมูลส่วนบุคคล ในเชิงธุรกิจหรือการพาณิชย์ที่กระทำด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์และวิธีการปกติและไม่ใช้บังคับการประมวลผลและการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว

ส่วนบทลงโทษจะลงโทษแก่ผู้ที่ดำเนินการต่างๆ ดังนี้ คือ
1. การทำการใดๆต่อข้อมูลส่วนบุคคลโดยทุจริตหรือเพื่อให้ผู้อื่นเสียหาย
2. เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยมิชอบและ
3.เปิดเผยกิจการของผู้อื่นเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายนี้และ
แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลและทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญ โดยมีทั้งโทษจำคุกและปรับเงิน


http://www.lawyerthai.com/news/view.php?topic=201




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น