วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555


กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทย 

       เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับกฎหมายตัวใหม่ที่กำลังจะออกมาใช้บังคับกันในอนาคต ทั้งนี้  สืบเนื่องมาจากในปัจจุบันจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เนตทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย มีอัตราการขยายตัวที่ มากขึ้น และเป็นการเติบโตที่รวดเร็วแบบก้าวกระโดด ซึ่งจะเห็นได้จากจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เนตนับล้านคนในประเทศไทย อีกทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล(PC: Personal Computer ) ก็ดูเหมือนจะกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้คนไปซะแล้ว สังเกตุได้จากตามออฟฟิศ สำนักงานต่างๆหรือ แม้แต่ตามบ้านพักอาศัย ล้วนแต่มีคอมพิวเตอร์ไว้ใช้งานด้วยเสมอ ซึ่งดูๆไปแล้วก็ไม่ต่างไปจากเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป เมื่อเกิดมีสังคมทางอินเทอร์เนตดังกล่าวขึ้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการบางอย่างเพื่อจะใช้บังคับให้คนในสังคม Cyber อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข เช่นเดียวกับสังคมในชีวิตจริงของเรา โลกจำลองของสังคม Cyber นั้นนับวันยิ่งใกล้เคียงโลกของจริงเข้าไปทุกที ด้วยเหตุนี้จึงเกิดมีกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศขึ้นสืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2539 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบต่อนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ตามหนังสือที่ นร 0212/2718 โดยมีเป้าหมายหลักคือ การปฏิรูปกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งได้กำหนดหลักการสำคัญไว้ว่า “รัฐจะต้อง….พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ” 
       ปัจจุบันประเทศต่างๆทั่วโลกต่างก็มีการตื่นตัวต่อการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น ในปี คศ. 1997 ประเทศญี่ปุ่นได้ประกาศนโยบาย “ Toward the Age of  Digital Economy “ สหรัฐอเมริกาประกาศนโยบาย “ A Framework for Global Electric Commerce “ และสหภาพยุโรปประกาศนโยบาย “ A European Initiative in Electronic Commerce” เป็นต้น     นอกจากนั้นองค์การระหว่างประเทศ เช่น องค์การการค้าโลก ( WTO ) และสหประชาชาติ ( United Nation ) ก็ให้ความสนใจจัดให้มีการประชุมเจรจาจัดทำนโยบายและรูปแบบของกฎหมายเกี่ยวกับการพานิชย์อิเล็คทรอนิกส์ไว้ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยจะต้องมีการจัดทำกฎหมายดังกล่าว เพื่อให้เป็นโครงสร้างพื้นฐานต่อไป 
       กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศจึงเกิดขึ้นเนื่องจากความจำเป็นของสังคม (Social Necessity) และเพื่อให้สังคมมีความเป็นปึกแผ่น (Solidality) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็คทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ตระหนักในปัญหาของประเทศชาติและความสำคัญของกฎหมายดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ในฐานะที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมาย (Legal Infrastructure) โดยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 
1. กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law) : เพื่อคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัวจากการนำข้อมูลของบุคคลไปใช้ในทางมิชอบ 
2. 
กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ Computer Relate Crime) : เพื่อคุ้มครองสังคมจากความผิดที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารอันถือเป็นทรัพย์ที่ไม่มีรูปร่าง (Intangible Object) 
3. 
กฎหมายพาณิชย์อิเล็คทรอนิกส์ (Electronic Commerce) : เพื่อคุ้มครองการทำธุรกรรมทางอินเทอร์เนต 
4. 
กฎหมายการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็คทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange : EDI ) : เพื่อที่จะเอื้อให้มีการทำนิติกรรมสัญญาทางอิเล็คทรอนิกส์ได้ 
5. 
กฎหมายลายมือชื่ออิเล็คทรอนิกส์ (Electronic Signature Law) : เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่คู่กรณีในอันที่จะต้องพึ่งพาเทคโนโลยีเพื่อการลงลายมือชื่อ
6. 
กฎหมายการโอนเงินทางอิเล็คทรอนิกส์ (Electronic Funds Tranfer) : เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและสร้างหลักประกันที่มั่นคง 
7. 
กฎหมายโทรคมนาคม (Telecommunication Law) : เพื่อวางกลไกในการเปิดเสรีให้มีการแข่งขันที่เป็นธรรมและมีประมิทธิภาพ ทั้งสร้างหลักประกันให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการโทรคมนาคมได้อย่างทั่วถึง (Universal Service) 
8. 
กฎหมายระหว่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศและการค้าระหว่างประเทศที่เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ 
9. 
กฎหมายที่เกี่ยวเนื่องกับอินเทอร์เนต 
10. 
กฎหมายพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ 
          ปัจจุบันได้มีกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศออกมาประกาศใช้แล้ว ฉบับคือ พระราชบัญญัติธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2545 ซึ่งได้รวมเอากฎหมายพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์และกฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เข้าไว้ด้วยกัน โดยกฎหมายดังกล่าวและมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่เมษายน 2545 ที่ผ่านมา  ทั้งนี้ กฎหมายดังกล่าวจะเอื้อประโยชน์อย่างมากทั้งต่อตัวผู้กระทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม เพราะกฎหมายดังกล่าวได้ระบุเรื่องการรับฟังพยานหลักฐานที่อยู่ในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์เข้าไว้ด้วย (เดิมปรับใช้จากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง) 
     ประเด็นสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นของผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศก็คือ การพัฒนากฎหมายเพื่อรองรับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ซึ่งรัฐมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาถึงเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้เข้าใจในเบื้องต้น และศึกษาถึงธรรมเนียมประเพณีและสังคมการพาณิชย์ของไทย รวมทั้งปัญหาต่างๆที่มีอยู่ในปัจจุบันที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศไทย 
     สภาพปัญหาในปัจจุบันคือ กฎหมายไทยไม่เพียงพอที่จะให้ความคุ้มครองทางอิเล็คทรอนิกส์ ทำให้นักธุรกิจและนักลงทุนไม่มั่นใจในการทำการค้าทางอิเล็คทรอนิกส์ เพราะเหตุความไม่มีประสิทธิภาพของระบบและโครงสร้าง ความไม่มั่นใจจากการถูกรบกวนและแทรกแซงจากบุคคลภายนอกผู้ไม่หวังดี รวมถึงความหวาดกลัวต่อการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งมีมากในประเทศของเรา 
     ประกอบกับผู้ใช้งานยังมีความกังขาในข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสมบูรณ์ของนิติกรรมที่เกิดจากการพานิชย์อิเล็คทรอนิกส์ว่าจะมีผลผูกพันเพียงใด ทั้งจะมีการยอมรับการสืบพยานในศาลได้มากน้อยเพียงใด ดังนั้น กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อระบบการทำธุรกรรมในประเทศไทยทั้งในปัจจุบันและในอนาคต 
รู้จักกับกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศของสหรัฐอเมริกา 
กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศหรือกฎหมาย IT ของอเมริกานั้น ไม่ได้เป็นกฎหมายรวมฉบับเดียวแล้วเรียกว่ากฎหมาย IT หรือ Cyber Law  หรอกครับ ของเขาก็กระจายอยู่ในกฎหมายหลายฉบับเหมือนกัน มีทั้งกฎหมายที่ใช้อยู่แล้วกับที่ยกร่างขึ้นใหม่ ผมลองนับดูเล่น ๆ ดูแล้วเฉพาะกฎหมายของรัฐบาลกลาง (Federal) ก็มีมากกว่า 20 ฉบับครับ ยังไม่นับกฎหมายของแต่ละรัฐอีก 50 รัฐ ครับ กฎหมายเขามากมายเหลือเกินผมคงไม่อธิบายหรอกครับว่ามีกฎหมายอะไร ชื่ออะไรกันบ้างเพราะมันน่าเบื่อครับ เอาเป็นว่าพูดกันถึงหลัก ๆ แล้วกันนะครับว่ามีกฎหมายอะไรบ้าง  กฎหมาย IT ตัวแรกของเขาก็คือ กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาครับ ซึ่งก็เหมือนกับบ้านเราที่เป็นกฎหมายซึ่งใช้บังคับกับเรื่องทั่วไปด้วย ไม่ใช่เรื่อง IT อย่างเดียว ช่วงแรก ๆ ที่เทคโนโลยีเพิ่งพัฒนาก็มีการตีความกฎหมายกันวุ่นวายครับจนถึงตอนนี้ก็อาจถือได้ว่าลงตัวในระดับหนึ่งแล้วสำหรับเรื่องนี้   กฎหมายตัวต่อไปก็คือ กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ครับ ก็มีกฎหมายหลายตัวทั้งในเรื่องการทำสัญญากันออนไลน์ (Online contracting) เรื่องภาษีของการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการซื้อขายหลักทรัพย์กัน Online ครับ เรื่องแรกน่ะก็อย่างที่รู้กันนะครับว่าของไทยมีกฎหมายมาแล้ว แต่อีก เรื่องยังไม่มีกฎหมายเฉพาะครับ โดยเฉพาะในเรื่องภาษีตอนนี้ก็เริ่มมีการตีความประมวลรัษฎากร กฎหมายเรื่องที่สามคือ กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลครับ” ประกอบไปด้วยกฎหมายหลายฉบับครอบคลุมหลายเรื่องด้วยกัน เฉพาะกฎหมายของรัฐบาลกลางอย่างเดียวในเรื่องนี้ก็มีร่วม 10 ฉบับแล้วครับ เรื่อง privacy หรือความเป็นส่วนตัวนี้เป็นเรื่องใหญ่
กฎหมายเรื่องที่สี่ คือ  กฎหมายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ เขาก็มีทั้งกฎหมายเฉพาะและปรับใช้กฎหมายอาญาทั่วไปครับ กฎหมายเฉพาะก็จะเป็นกฎหมายเกี่ยวกับพวกเว็บไซต์ลามกครับ รวมถึงการลักลอบดักข้อมูล การแทรกแซงระบบคอมพิวเตอร์ และการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์ด้วยกฎหมาย IT ตัวสุดท้ายที่อยากจะพูดถึงก็คือกฎหมายเรื่อง  “การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ครับ คือในขณะนี้ถือว่ามีความจำเป็นมากในธุรกิจ e-commerce
"กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล" ยังอีกไกลแต่ต้องไปให้ถึง
ปัจจุบันแนวโน้มของการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์หรืออี-คอมเมิร์ซ ของคนไทยยังไม่แพร่หลาย
หรือเป็นที่นิยมเท่าที่ควร เมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศพบว่าปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญ ประการหนึ่งที่ทำให้การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ยังไม่กระจายไปสู่ประชาชน คือ ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในการนำวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้        สาเหตุของการขาดความเชื่อมั่นนี้อาจเกิดขึ้นได้ทั้งจากความไม่มั่นใจ ในความปลอดภัยของระบบและความกังวลในเรื่องของ การรักษาความเป็นส่วนตัวและ ความปลอดภัยของ ข้อมูลส่วนบุคคล"กฎหมาย" จึงกลายเป็นคำตอบสุดท้ายของ การสร้างความมั่นใจ ในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เพราะกฎหมายเป็นโครงสร้างพื้นฐานทาง สังคมของประเทศ ดังนั้นจึงเป็นที่มาของร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ… แต่ว่ากว่าที่ร่างพ.ร.บ. ฉบับนี้จะได้ฤกษ์คลอดออกมาคงต้องลุ้นกันอีกนาน เพราะขณะนี้คณะอนุกรรมการและคณะทำงานยกร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลพ.ศกำลังช่วยกันหาข้อสรุปในการนำร่างพ.ร.บ.ฯ ที่ถูกร่างขึ้น ฉบับโดยสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการหรือโอไอซี และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือไอซีที มาสรุปรวมกันเป็นฉบับเดียว  ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค ในฐานะเจ้าภาพจัดงาน บอกว่า การจัดสัมมนาครั้งนี้เน้นหนักไปที่การหาข้อสรุปร่วมกัน ในส่วนของหลักการและความคิดเห็นบางส่วนที่ร่างพ.ร.บ.ทั้ง ฉบับยังไม่ตรงกันนอกจากนั้นเพื่อให้การพิจารณาร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวในชั้นการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและกระบวนการนิติบัญญัติเป็นไปอย่างรอบคอบรวดเร็วและมีเนื้อหาที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น รวมถึงประเด็นปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการบังคับใช้กฎหมายในอนาคต ทั้งนี้เพื่อให้เป็นหลักประกันในการให้ความคุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างแท้จริง
ผอ.เนคเทค อธิบายว่า ร่างพ.ร.บ.ของทั้ง หน่วยงานมีข้อคำนึงที่ใช้ประกอบในการพิจารณา 
ยกร่างกฎหมายฯ 6ประการ คือ
1. การคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน
2. ความพร้อมและความตื่นตัวของประชาชน
3.การส่งเสริมการประกอบธุรกิจภาคเอกชน
4.การสร้างความสมดุลระหว่างการให้ความคุ้มครองและส่งเสริมการประกอบการ
5.กลไกและความเข้มแข็งในการให้ความคุ้มครองของภาครัฐและ
6.ประสบการณ์ที่เรียนรู้จากประเทศเพื่อบ้านหรือประเทศอื่นๆ โดย

เจตนารมณ์ของกฎหมายมี ข้อ คือ
1.เพื่อคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัว อันเป็นสิทธิที่รัฐธรรมนูญได้รับรองไว้
2.เพื่อกำหนดหลักการพื้นฐานในการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ให้เป็นไป โดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม
3.กำหนดสิทธิของเจ้าของข้อมูลในการเข้าถึง ข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน
4.วางกลไกลการกำกับดูแลที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจของ ภาคเอกชน  คุ้มครองประชาชนและในขณะเดียวกันไม่ก่อให้เกิดภาระกับรัฐมากเกินไปและ
5.จัดตั้งองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ ทำหน้าที่กำกับดูแลและตรวจสอบให้มี การปฏิบัติตามกฎหมาย  นายชั่งทอง โอภาสศิริวิทย์ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ หรือโอไอซี อธิบายว่า ขอบเขตการบังคับใช้กฎหมาย จะต้องคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลธรรมดา ใช้บังคับกับการเก็บรวบรวมการประมวลผล การใช้หรือการดำเนินการอื่นใดกับข้อมูลส่วนบุคคล ในเชิงธุรกิจหรือการพาณิชย์ที่กระทำด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์และวิธีการปกติและไม่ใช้บังคับการประมวลผลและการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว

ส่วนบทลงโทษจะลงโทษแก่ผู้ที่ดำเนินการต่างๆ ดังนี้ คือ
1. การทำการใดๆต่อข้อมูลส่วนบุคคลโดยทุจริตหรือเพื่อให้ผู้อื่นเสียหาย
2. เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยมิชอบและ
3.เปิดเผยกิจการของผู้อื่นเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายนี้และ
แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลและทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญ โดยมีทั้งโทษจำคุกและปรับเงิน


http://www.lawyerthai.com/news/view.php?topic=201




วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Smartphone รุ่นใหม่ ของ LG P705 Optimus L7


Smartphone รุ่นใหม่ ของ LG P705 Optimus L7

โดดเด่นด้วยดีไซน์สมาร์ทด้วยแอนดรอยด์ 4.0LG P705 Optimus L7 Smartphone  หน้าจอ IPS กว้าง 4.3 นิ้วรองรับไลฟ์สไตล์ด้วยแอนดรอยด์ 4.0 Ice Cream Sandwich   ดีไซน์หรูล้ำหับ L-STYLE พร้อมความบางเฉียบเพียง 8.8 มม. ล้ำหน้าทางเทคโนโลยีขั้นสุดกับแอนดรอยด์ 4.0 ตอบชีวิตสมาร์ทด้วยหน้าจอกว้างกว่าถึง 4.3 นิ้ว หน้าจอ IPS ให้สีเป็นธรรมชาติไม่สดเกินจริง แบตเตอรี่อัจฉริยะ 1700 mAh ฟังก์ชั่นกล้องสุดล้ำ ความละเอียด 5 ล้านพิกเซล




                     
ดีไซน์หรูล้ำกับ L-STYLE พร้อมความบางเฉียบเพียง 8.8 มม.  ดีไซน์ทรงเหลี่ยมแบบโมเดิร์น
ค้นพบความโดดเด่นในดีไซน์เรียบหรู จับง่าย กระชับมือ ความแตกต่างที่เข้ากันได้อย่างกลมกลืน
ค้นพบความล้ำของโทนสีเงินเมทัลลิกที่มาพร้อมฝาหลังที่ถูกออกแบบให้มี texture 3 มิติ ในสไตล์เฉพาะตัว
                       
ดีไซน์ไร้รอยเชื่อมต่อ     เพื่อความสวยเรียบหรู กลมกลืนให้ความรู้สึกอิสระยิ่งขึ้น
  • ล้ำหน้าทางเทคโนโลยีขั้นสุดกับแอนดรอยด์ 4.0
    อัพเดทความล้ำหน้าทางเทคโนโลยีล่าสุดของ LG Optimus L7 ที่มาพร้อมแอนดรอยด์ 4.0 Ice Cream Sandwich เพื่อตอบการใช้งานในทุกๆ ด้านได้มากกว่าเดิม
  •         
                
ตอบชีวิตสมาร์ทด้วยหน้าจอกว้างกว่าถึง 4.3 นิ้ว  ด้วยหน้าจอที่กว้างที่สุดถึง 4.3 นิ้ว ช่วยให้คุณอ่านข้อความอย่างสบายตา หรือไม่ว่าจะดูรูป วิดีโอ อัพเดทโซเชียล เช็คอีเมล์ ที่ทำได้อย่างเต็มอรรถรสยิ่งขึ้น ยกระดับการมองภาพให้ชัดเจนด้วยหน้าจอ IPS ให้สีเป็นธรรมชาติ ไม่สดเกินจริง
  •                 
  • แบตเตอรี่อัจฉริยะ 1700 mAh   ใช้งานได้นานกว่ากับพลังแบตเตอรี่ 1700 mAh พร้อมค้นพบประสิทธิภาพที่เหนือกว่าด้วยฟังก์ชั่น Smart Power ที่ช่วยจัดการกับการใช้พลังแบตเตอรี่ที่เหลืออยู่อัตโนมัติ
                    
ฟังก์ชั่นกล้องสุดล้ำ ความละเอียด 5 ล้านพิกเซล   ไม่พลาดกับชอตโดนๆ ด้วยเลนส์ที่ให้ความละเอียดถึง 5 ล้านพิกเซล และระบบออโต้โฟกัสที่รวดเร็วทันใจพร้อมกล้องหน้าแบบ VGA ให้คุณประทับใจกับความสามารถในการถ่ายภาพดีๆในพริบตา
 
 
http:www.LG.com
http://www.lg.com/th/mobile-phones/smartphone/LG-P705-Optimus-L7.jsp
 http://www.lg.com/th/mobile-phones/smartphone/index.jsp